วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2559

โรคเป้ด

  โรคเป็ด
โรคเพล็ก 
-  สาเหตุ  เกิดจากเชื้อไวรัส
อาการ  เป็ดจะแสดงอาการขาอ่อน นอนหมอบ ตัวสั่น ต่อมาไม่ช้าจะเกิดอาการอัมพาต เป็ดกระหายน้ำจัด บางทีมีน้ำลาย เหนียว ๆ ไหลออกจากปาก ตาแฉะ จมูกสกปรก หายใจมีเสียงครืดคราด ท้องเดิน อุจจาระสีขาว และจะตายภายใน 24 ชั่วโมง ระยะฟักตัวของโรคตั้งแต่ต้นจนแสดงอาการเหล่านี้ประมาณ 1 สัปดาห์ 
การให้วัคซีนในเป็ด
วัคซีน  duck plague
-  คุณลักษณะของวัคซีน
เป็นวัคซีนที่ผลิตจากเชื้อไวรัสเชื้อเป็น สเตรนแจนเซ่น สำหรับทำวัคซีนในเป็ด ไม่ทำให้เป็ดเป็นโรค แต่สามารถทำให้เกิดความคุ้มโรคกาฬโรคเป็ดได้เป็นอย่างดี วัคซีนกาฬโรคเป็ด เป็นวัคซีนแห้งบรรจุในขวดสูญญากาศ
- วิธีการใช้และขนาดของวัคซีน
ละลายวัคซีนด้วยน้ำยาละลาย เขย่าให้ละลายให้หมด แล้วใช้ทันที ควรแช่ในน้ำแข็ง และใช้ภายใน 2 ชั่วโมง ห้ามเก็บวัคซีนที่เหลือไว้ใช้ในคราวต่อไป
-  วิธีการฉีด  
       ฉีดวัคซีนเข้าใต้ผิวหนัง (คอ) หรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (ที่อก) ตัวละ 0.5 ซีซี ต่อตัว
- โปรแกรมวัคซีน
                ฉีดวัคซีนเมื่อเป็ดอายุได้  21 วัน
- ข้อควรระวัง
                อย่าทำวัคซีนในช่วงเป็ดผลัดขน เพราะจะได้ภูมิคุ้มกันโรคที่ต่ำ
-  การเก็บรักษาวัคซีน
วัคซีนผงแห้งควรเก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดา อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียล หรือในกระติกน้ำแข็ง


http://www.barbary-duck.com/index.php/yootheme.html

ขั้นตอนการเลี้ยง

การเลี้ยงลูกเป็ด 0-2 สัปดาห์
1.   การเตรียมโรงเรือนสำหรับลูกเป็ด 0-2 สัปดาห์
 1.1  การทำความสะอาดโรงเรือนและอุปกรณ์ที่ใช้ สำหรับลูกเป็ดระยะแรก โดยการล้างน้ำและนำออกตากแดด การเตรียมกรงกก จะต้องเตรียมล่วงหน้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ และเปลี่ยนวัสดุรองพื้นใหม่ทุกครั้งที่นำเป็ดเข้า
1.2  การให้น้ำสะอาด ในระยะแรกที่ลูกเป็ดมาถึงฟาร์ม น้ำที่เตรียมไว้ควรเป็นน้ำสะอาด
1.3  โรงเรือนและอุปกรณ์ ต้องเตรียมไว้ล่วงหน้าได้แก่
              - โรงเรือนที่ใช้กกลูกเป็ด ควรป้องกันลมและฝนได้ พร้อมที่จะต้องป้องกันสัตว์ต่าง ๆ ที่เป็นศัตรูและเป็นพาหนะนำเชื้อโรคมาสู่เป็ด เช่น สุนัข แมว หนู นก ต่าง ๆ
1.4   ลงบันทึกในใบรายงานการเตรียมโรงเรือน
2.  การกกลูกเป็ด
2.1  การกกควรแบ่งลูกเป็ดกรง ๆ ละ 60  ตัว บนกรงกกขนาด  110  130  ซม.  
2.2  แหล่งความร้อนใช้หลอดไฟฟ้า 100  วัตต์ 1  หลอด / ลูกเป็ด 60  ตัว  ในเวลากลางคืน ส่วนเวลากลางวัน ให้ใช้แสงธรรมชาติ
3.  การให้น้ำและอาหารลูกเป็ด
     ในระยะเวลา 2 วันแรก ควรให้อาหารสำหรับเป็ดแรกเกิด 3 สัปดาห์ ใส่ภาชนะแบนๆ มีขอบเตี้ย ๆ และมีน้ำสะอาดวางให้กิน น้ำควรเป็นน้ำสะอาดปราศจากคลอรีน ภาชนะใส่น้ำควรล้างทำความสะอาดทุก ๆ วัน วันละ 2 ครั้ง
4.  สิ่งที่ควรปฏิบัติเมื่อลูกเป็ดมาถึงฟาร์ม
     เมื่อลูกเป็ดมาถึงและนำลูกเป็ดออกวางในกรงกก ควรสำรวจดูความแข็งแรง ถ้าตัวไหนอ่อนแอก็ให้แยกเลี้ยงต่างหาก ทันทีที่ปล่อยลูกเป็ดลงพื้นของกรงกก สิ่งแรกที่ควรสอนลูกเป็ด คือ ให้ลูกเป็ดกินน้ำและต้องให้กินน้ำก่อน 2-3 ชั่วโมง  เมื่อเห็นตัวไหนกินน้ำไม่เป็นควรจะจับปากลูกเป็ดจุ่มลงในน้ำ เพื่อให้ลูกเป็ดเรียนรู้
การเลี้ยงเป็ด 6 สัปดาห์ ขึ้นไป
     เมื่อลูกเป็ดระยะนี้จะเจริญเติบโตเต็มที่โดยเป็ดเพศเมียจะเจริญเติบโตเต็มที่ ช่วงระยะเวลา  8 สัปดาห์ และเป็ดเพศผู้จะเจริญเติบโตเต็มที่ ช่วงระยะเวลา  10  สัปดาห์ การเลี้ยงเป็ดระยะช่วงเวลา 6  สัปดาห์ขึ้นไปนี้มีข้อปฏิบัติดังนี้
1.  การให้อาหาร  จะใช้อาหารที่ใช้สำหรับเลี้ยงดูเป็ดช่วงระยะเวลา 6  สัปดาห์ขึ้นไป การให้อาหารช่วงระยะเวลานี้ต้องหมั่นตรวจสอบความเพียงพอสำหรับเป็ดในกินอาหาร พร้อมทั้งเกลี่ยอาหารให้กระจายสม่ำเสมอ ซึ่งจะทำให้เป็ดได้รับอาหารในปริมาณที่เท่า ๆ กัน น้ำหนักเป็ดสม่ำเสมอทั้งฝูงและเป็ดจะได้มีความสมบูรณ์เต็มที่
2.  การให้น้ำ ต้องสะอาด ควรทำความสะอาดรางน้ำถ้ามีตะไคร่น้ำ ควรทำความสะอาดให้เรียบร้อย และหมั่นตรวจสอบดูว่ามีอาหารตกค้างรางน้ำหรือไม่ เพราะจะทำให้น้ำเสียได้ง่าย
3.  หมั่นตรวจสอบรอบ ๆ โรงเรือน    อย่าให้หนู แมว หมา มาบริเวณโรงเรือนเลี้ยงเป็ด
 




http://www.barbary-duck.com/index.php/yootheme.html

การเลือกเลี้ยงเป็ดพันธุ์เนื้อและไข่

          เป็ดพันธุ์เนื้อและไข่ (Dual  Purposes  Breedsจะให้ทั้งเนื้อและไข่  คือ เป็ดพันธุ์พื้นเมืองไทย  ได้แก่  เป็ดพันธุ์ปากน้ำ เป็ดพันธุ์นครปฐม  เป็นต้น
3.1        เป็ดพันธุ์พื้นเมืองไทย  ลักษณะคล้ายเป็ดป่า  ได้แก่


3.1.1                     เป็ดพันธุ์ปากน้ำ


ลักษณะประจำพันธุ์            ขนาดตัวเล็กกว่าเป็ดนครปฐม ไข่เร็วกว่าและดกกว่าแต่ฟองเล็ก     ไก่ตัวเมียมีสีดำทั้งตัว มีสีขาวที่อก ส่วนตัวผู้มีหัวสีเขียวบรอนซ์ ลำตัวและส่วนอื่นสีดำ มีสีขาวที่อกเช่นเดียวกับเพศเมีย เป็ดปากน้ำ
3.1.2                     เป็ดพันธุ์นครปฐม


ลักษณะประจำพันธุ์            ขนาดตัวและอกใหญ่กว่าพันธุ์กากีแคมพ์เบลล์ ลำตัวสีเทา เพศเมียมีสีลายกาบอ้อย ทั้งตัว ส่วนเพศผู้หัวมีสีเขียวเข้ม รอบคอมีสีขาวอกมีสีแดงเรื่อๆ ท้องสีค่อนข้างขาว ปากสีเทา เท้าและแข้งสีส้ม
ลักษณะการให้ผลผลิต
อายุเริ่มให้ไข่
5 – 6
เดือน


4.             เป็ดพันธุ์ลูกผสม เป็ดไข่ลูกผสมไฮ-บริดเริ่มเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมการเลี้ยงเป็ดไข่ในเมืองไทยเช่นเดียวกับไก่ไข่ เป็ดลูกผสมไฮ-บริดเชอรี่เวลเล่ย์มีขนสีกากีคล้ายเป็ดพันธุ์กากีแคมป์เบลล์ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมแพร่หลาย



http://onwimon.blogspot.com/p/blog-page_12.html

การเลือกพันธุ์เป็ดเนื้อ

  

       เป็ดพันธุ์แท้แบ่งได้ ประเภทคือ  เป็ดพันธุ์เนื้อ  เป็ดพันธุ์ไข่  เป็ดพันธุ์เนื้อพันธุ์ไข่ 

พันธุ์เป็ดเนื้อ

      1.พันธุ์ปักกิ่ง มีต้นกำเนิดจากประเทศจีน รูปร่างใหญ่โต ลำตัวกว้างลึกและหนา ขนสีขาวล้วน ปากสีเหลือง-ส้ม แข้งและเท้าสีหมากสุก ผิวหน้าสีเหลือง เลี้ยงง่าย ไม่ฟักไข่ ให้ไข่ดีพอใช้ ประมาณ 160 ฟองต่อปี เปลือกไข่สีขาว เมื่อโตเต็มที่ตัวผู้หนักประมาณ 4 กก. ตัวเมียหนัก 3.5 กก.

เป็ดปักกิ่งมีนิสัยค่อนข้างตื่นตกใจง่าย ผู้เลี้ยงควรระวัง เพราะอาจกระทบกับการเจริญเติบโตได้ ใช้เลี้ยงไล่ทุ่งไม่ค่อยได้ผล ควรเลี้ยงในเล้าที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก จึงจะเติบโตดี นอกจากให้เนื้อแล้ว ขนเป็ดปักกิ่งยังเป็นที่ต้องการของอุตสาหกรรมผลิตลูกขนไก่ และใช้ทำฟูกที่นอนได้ด้วย
2. เป็ดเทศ (Muscovy) มีต้นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกาใต้ เป็นเป็ดอีกพันธุ์หนึ่งต่างหาก
 เมื่อทำการผสม พันธุ์กับเป็ดพันธุ์อื่น จะให้ลูกเป็นหมัน เช่น เป็นพันธุ์ปั๊วฉ่าย
 เป็ดเทศใช้อาหารพวกพืชสดได้ดีคล้าย ๆ กับห่าน เป็นเป็ดที่ให้เนื้อดีแต่ให้ไข่น้อย และโตค่อนข้างช้า  จึงไม่ค่อยมีผู้นิยมเลี้ยงเป็นการค้า เป็ดเทศชอบฟักไข่และเลี้ยงลูกไก่ มีนิสัยชอบบิน เมื่อโตเต็มที่ตัวผู้  จะมีน้ำหนักประมาณ 4-4.5 กก. ตัวเมียมีน้ำหนัก 3.0-3.5 กก.
เป็ดเทศมี 2 ชนิด คือชนิดมีสีขาว และชนิดสีดำ ทั้ง 2 ชนิด ที่บริเวณหน้าและเหนือจมูก มีหนังย่นสีแดง
เป็นเทศชนิดที่มีสีขาวจะมีขนสีขาว ผิวหนังสีขาว แข้งสีเหลือง-ส้มอ่อน ปากมีสีเนื้อ
ชนิดสีดำมีขนที่หน้าอก ลำตัและหลังสีดำประขาวปากสีชมพู แข้งสีเหลืองหรือตะกั่วเข้ม

       
    
     3. พันธุ์ปั๊วฉ่าย เป็นเป็ดพันธุ์ผสมระหว่างเป็ดเทศกับเป็ดธรรมดา พันธุ์พื้นเมืองของไทย ลูกเป็ดที่ได้จะเป็นหมันทั้งเพศผู้และเพศเมีย
ลักษณะเป็ดพันธุ์นี้ที่สำคัญ คือโครงร่างใหญ่ เล็บแหลมดำ และว่องไว กระโดดเก่งกว่าลูกเป็ดธรรมดา เลี้ยงง่าย โตเร็ว ไม่เที่ยวหากินไกล ไม่ร้องเสียงดัง รสชาติของเนื้อดีกว่าเป็ดธรรมดา เนื้อแน่น มีไขมันต่ำ ชาวจีน นิยมบริโภคมานานนับร้อยปีแล้ว ในช่วงตรุษและสารทจีน ราคาดีกว่าเป็ดธรรมดามาก
การเลี้ยงใช้เวลาประมาณ 3.5-4 เดือน เป็ดตัวผู้จะมีน้ำหนัก 3-3.5 กก. ส่วนตัวเมียจะหนัก 2.5-3 กก.
      4. พันธุ์ลูกผสม ไฮ-บริด นำมาเผยแพร่โดยบริษัทเอกชน มีเลี้ยงกันอยู่หลายพันธุ์ในขณะนี้ เช่น พันธุ์ เชอรี่วอลเลย์ พันธุ์ทีเกล พันธุ์ฮักการด์ พันธุ์เลคการด์ เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่มีการพัฒนาพันธุ์โดยมีพันธุ์ปักกิ่งผสมอยู่ด้วย
      5. พันธุ์พื้นเมือง มีอยู่ 2 พันธุ์ด้วยกัน คือ
5.1พันธุ์นครปฐม
เป็นเป็ดตัวผู้ที่คัดออกจากเป็ดพันธุ์ไข่ และนำมาเลี้ยงเป็นเป็ดเนื้อ ได้รับความนิยมจากผู้เลี้ยงมากที่สุด เพราะลูกเป็ดราคาถูก เลี้ยงง่าย และได้น้ำหนักดีกว่าเป็ดพื้นเมืองพันธุ์อื่น ๆ ใช้เวลาเลี้ยง 3-4 เดือน ได้ น้ำหนักเฉลี่ย 1.6-2.0 กก. ตัวผู้จะมีหัวสีเขียว คอควั่นขาว อกสีแดง ลำตัวสีเทา และเท้าสีส้ม
5.2พันธุ์กากีผสม


เป็นเป็ดตัวผู้ที่คัดออกจากเป็ดไข่พันธุ์กากีผสมและนำมาเลี้ยงเป็นเป็ดพันธุ์เนื้อ เป็นเป็ดพันธุ์ เล็ก น้ำหนักไม่ค่อยดี จึงไม่นิยมเลี้ยงกันมากนัก ใช้เวลาเลี้ยง 4 เดือน ได้น้ำหนัก 1.3-1.6 กก.
การเลี้ยงเป็ดตัวผู้เป็นเป็ดพันธุ์เนื้อเดิมทีเดียว ไม่ได้นิยมกันมากนัก จนกระทั่งเกษตรกรแถบนครปฐม สุพรรณบุรี ฉะเชิงเทรา อยุธยา อ่างทอง หลังจากทำนาแล้ว ก็ลองซื้อลูกเป็ดตัวผู้มาเลี้ยง จนกลายเป็นความนิยมทั่วไป โดยส่วนมากนิยมเลี้ยงเป็ดพื้นเมือง การเลี้ยงก็โดยอาศัยให้เป็ดหากินเก็บข้าวตกและลูกกุ้ง ลูกปลาตามหนอง คลอง บึง ต่าง ๆ


http://amorntepsrilaken82.blogspot.com/p/blog-page_2309.html

การเลือกพันธุ์เป็ดไข่

          พันธุ์เป็ดไข่ (Egg – Producing Breeds )      เป็ดพันธุ์ไข่ที่นิยมเลี้ยงกันมี  พันธุ์  คือ  พันธุ์กากีแคมป์เบลล์  พันธุ์อินเดียนรันเนอร์  และลูกผสมไฮบรีด

2.1        เป็ดพันธุ์กากีแคมป์เบลล์ (Kaki Campbell)

ลักษณะประจำพันธุ์            เพศผู้จะมีขนสีเขียวแกมน้ำตาลที่หลังหางและคอ หัว ปากสีเขียว แข้งและนิ้วเท้าสีส้มแก่                เพศเมียนั้นบริเวณคอและหัวเป็นสีน้ำตาล ปากสีเขียวเข้ม แข้งและนิ้วเท้าสีน้ำตาล
ลักษณะการให้ผลผลิต
อายุเริ่มให้ไข่
4 -5
เดือน
ผลผลิตไข่
365
ฟอง/ปี
น้ำหนักโตเต็มที่ของเพศผู้
 2 – 2.5
กิโลกรัม
น้ำหนักโตเต็มที่ของเพศเมีย
1.5 – 2
กิโลกรัม
2.2        พันธุ์อินเดียนรันเนอร์  (Indian  Runner)




ลักษณะประจำพันธุ์            ตัวผอมยาว  อกตั้ง คอยืดตรง  วิ่งเร็ว  ซึ่งจะมีอยู่  พันธุ์  แตกต่างกันที่สี  คือ ขาว,ลายและน้ำตาล  แต่นิยมเลี้ยงสีขาว
ลักษณะการให้ผลผลิต
อายุเริ่มให้ไข่
4
เดือน
อายุการให้ไข่
2 – 3
ปี
ผลผลิตไข่
356
ฟอง/ปี
น้ำหนักโตเต็มที่ของเพศผู้
 2 – 2.5
กิโลกรัม
น้ำหนักโตเต็มที่ของเพศเมีย
1.5 – 2
กิโลกรัม



http://onwimon.blogspot.com/p/blog-page_12.html